วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปวดเก๊าท์ทำอย่างไรดี



โรคเก๊าท์คืออะไร

โรคเก๊าท์จัดเป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุดในมนุษย์ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในขบวนการเมตะบอลิสซั่มของกรดยูริกในร่างกาย เป็นผลให้กรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ เกิดการตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรต (monosodium urate) สะสมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะข้อและไต
โดยส่วนตัวแล้ว คุณพ่อของ PTนิวเอง ก็มีโรคประจำตัวคือโรคเก๊าท์เช่นกันค่ะ เพราะคุณพ่อเป็นคนจีนแต้จิ๋ว เวลาวันตรุษจีนหรือเชงเม้งหรือไหว้เจ้า บ้านเราก็จะมีของไหว้ เช่น เป็ด ไก่ ปลาหมึกแห้ง ทำให้พออายุ 60 ปี คุณท่านก็เป็นโรคเก๊าท์ค่ะ เวลาคุณพ่อมีอาการปวดมากๆ  PT นิวหรือคุณแม่ก็จะเอาถังใส่น้ำอุ่นๆ (ค่อนข้างร้อน) ประมาณ 47 องศาเซลเซียส แล้วให้คุณพ่อแช่เท้าจนกว่าอาการจะดีขึ้นค่ะ นอกจากนี้ยังให้คุณพ่อกินยาระงับปวด (Tarmadol) (พี่สาวเป็นเภสัชค่ะ) เพราะเวลาอากาศหนาวเช่นช่วงเช้าตีสี่-ตีห้า จะเป็นอะไรที่ทรมานมากๆ เพราะจะปวดเข้าไปถึงกระดูกเลยค่ะ หากมีเครื่อง ultrasound แบบพกพา (เครื่องละประมาณห้าถึงหกหมื่นค่ะ แล้วแต่ยี่ห้อ และการรับประกันค่ะ) นิวก็จะทำ ultrasound ที่ข้อเท้าในน้ำสะอาดเป็นเวลา 10 นาทีค่ะ (ต้องการไล่ของเสียที่สะสมอยู่ในข้อ เช่น พวกกรดยูริก ออกไปค่ะ) จากนั้นก็ให้แช่เท้าในน้ำอุ่นต่อ หรือถ้าคุณพ่อจะนอนก็จะให้ประคบร้อนด้วยผ้าห่มไฟฟ้าค่ะ จะได้ไม่ปวดจนทรมานนอนไม่หลับค่ะ
                                                                                 Hot packไฟฟ้า หรือ ผ้าห่มไฟฟ้า หรือ Electric Pad  

                                                                                   Hot packไฟฟ้า หรือ ผ้าห่มไฟฟ้า หรือ Electric Pad  

 
                                                                  เครื่อง Ultrasound (คลื่นเหนือเสียง)

 
                                                                                                                  ยา Tramadol
เมื่อมีอาการแสดงเต็มที่ จะประกอบไปด้วย
 อาการข้ออักเสบเฉียบพลัน
 โรคข้ออักเสบเรื้อรัง
 ทำให้ไตทำงานบกพร่อง
 การเกิดนิ่วกรดยูริกในทางเดินปัสสาวะ (uric acid stone)
และการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
ในรายที่เรื้อรังการเกาะของเกลือ monosodium urate จะทำให้เกิดก้อนที่เรียกว่า Tophi ทำให้เกิดการอักเสบของข้อ เนื่องจากมีการเกาะของ เกลือ uric บริเวณข้อ และเอ็นหากเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อผิดรูปและเสียหน้าที่ในการทำงาน นอกจากนั้นยังทำให้หน้าที่ของไตเสื่อมและเกิดโรคนิ่วที่ไตด้วย

โรคเก๊าท์จะหมายถึงภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อทำให้เกิดการอักเสบมี อาการปวด บวมแดงร้อน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์อาจจะมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้ และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเก๊าท์เสมอไป โรคเก๊าท์เป็นในผู้ชายมากว่าผู้หญิง 9 เท่าและมักเป็นวัยกลางคนขึ้นไป ส่วนผู้หญิงมักเป็นหลังจากหมดประจำเดือน

สาเเหตุของโรคเก๊าท์

สาเหตุของโรคเก๊าท์เกิดจากการที่มีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปรกติ ซึ่งสาเหตุที่กรดยูริกสูงได้แก่

       1.ภาวะที่มีการสร้างกรดยูริกสูง

กรดยูริกในเลือดที่สูงในมนุษย์จะเป็นผลมาจากการที่ขาดยีนในการสลายกรดยูริก แล้ว ยังพบว่ากรดยูริกในร่างกายมนุษย์จะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ

จากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรินออกมา ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้
จากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยรับประสานอาหารที่มีพิวรีนสูง
       2.การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง

กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกาย 2 ทางหลัก คือ

ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร และ ซึ่งการขับออกทางระบบทางเดินอาหารจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน
ขับออกทางไต ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 เป็นการขับออกทางไต
จากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ จะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 มีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต กล่าวคือ ที่ความเข้มข้นของระดับกรดยูริกในเลือดที่เท่ากัน คนที่เป็นโรคเก๊าท์จะมีการขับกรดยูริกออกทางไตได้น้อยกว่าคนปกติที่ไม่มี ระดับกรดยูริกในเลือดสูงถึงร้อยละ 40 แสดงว่า ความผิดปกติหลักในผู้ป่วยโรคเก๊าท์อยู่ที่ความผิดปกติในการขับกรดยูริกออก ทางไต

อุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์

จากการที่พบว่าระดับกรดยูริกในประชากรแต่ละประเทศแตกต่างกัน จึงทำให้พบอุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์ แตกต่างกันไปด้วย ประเทศที่มีประชากรมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศแถบไมโครนีเซีย หรือหมู่เกาะทะเลใต้ ประชากรจะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงมาก ทำให้พบอุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์พบได้บ่อย และเป็นโรคเก๊าท์ที่มีอาการรุนแรง จากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยการติดตามผู้ป่วยที่มีภาวะกรดยูริกใน เลือดสูงโดยไม่มีอาการจำนวน 2,046 คน เป็นระยะเวลา 15 ปี ทำการตรวจระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ พบอุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์ร้อยละ 4.9 สำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือด 9 มก./ดล. หรือมากกว่า พบอุบัติการณ์ร้อยละ 0.5 สำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดระหว่าง 7-8.9 มก./ดล. และพบอุบัติการณ์เพียงร้อยละ 0.1 สำหรับระดับกรดยูริกในเลือดต่ำกว่า 7.0 มก./ดล. ในประเทศไทยพบความชุกร้อยละ 0.16 ของประชากร โรคเก๊าท์เป็นโรคที่พบบ่อยในเพศชาย อุบัติการณ์ในเพศหญิงพบได้ประมาณร้อยละ 3-7 และมักพบในช่วงวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว

ภาวะที่เกี่ยวข้องกับระดับกรดยูริกแบ่งได้เป็น

Asymptomatic Hyperuricemia หมายถึงภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูงโดยที่ไม่มีอาการ
Acute GoutyArthritis
IntercriticalGout เป็นช่วงที่หายจากการอักเสบของข้อ ระยะนี้จะปลอดอาการ ระยะนี้เป็นระยะที่หาสาเหตุ และป้องกันการเกิดซ้ำโดยการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
Recurrent Gout Arthritis เป็นการที่มีการอักเสบซ้ำของโรคเก๊าท์ ประมาณร้อยละ 80 จะเกิดการอักเสบซ้ำใน 2 ปี จะมีประมาณร้อยละ7 ที่ไม่มีการอักเสบใน 10 ปี
ChronicTophaceous Gout เมื่อโรคเก๊าท์ไม่ได้รักษาผู้ป่วยจะปวดข้อบ่อยขึ้น และปวดนานขึ้น ข้อที่ปวดจะเป็นหลายข้อ บางครั้งอาจจะเกิดอักเสบข้อไหล่ สะโพกและหลัง หากไม่รักษาก็จะเกิดการอักเสบเรื้อรังของข้อมีอาการปวดตลอด ข้อจะเสียหน้าที่และเกิดการตกตะกอนของเกลือ monosodium urate ที่ข้อ หู มือ แขน เข่าตั้งแต่เริ่มเป็นจนเกิด tophi ใช้เวลาประมาณ 10 ปี